RAM Dual Channel นั้น สำคัญไฉน ?

Posted: Sunday 27 February 2011 in General
Tags: ,

 

หลายๆ ท่านที่ซื้อ คอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ตแล้วต้องการเพิ่มหน่วยความจำให้กับเครื่องของตัวเอง ซึ่งในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ นั้น จะมีระบบเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องที่เกี่ยวกับหน่วยความจำ(RAM) โดยตรง มีชื่อว่า Dual Channel

 

Dual Channel คืออะไร

ในปัจจุบัน CPU มีความเร็วที่สูงขึ้นมาก ซึ่งทำให้หน่วยความจำในปัจจุบันไม่เร็วพอที่จะส่งข้อมูลให้ทันกับความเร็วในการประมวลผลของ CPU

ซึ่งถ้าหากจะเปลี่ยนให้ RAM นั้นเร็วขึ้นก็ย่อมได้ แต่ว่าของแรงมันก็ย่อมแพงเป็นธรรมดา

ทำยังไงดี?

Dual Channel คือคำตอบของข้อนี้ครับ

การนำแรมของเดิมมาช่วยกันทำงาน โดยการทำงานก็จะคล้ายๆ การนำ Harddisk มาทำ Raid กันนั่นเอง

หากจะพูดเป็นหลักการนั้น ผมก็กลัวจะพูดไม่ละเอียดพอ เด๋วจะอธิบายในลักษณะเปรียบเทียบจะดีกว่า

 

Dual Channel แล้วเป็นยังไงล่ะ

เปรียบเทียบ การที่ไม่มี Dual Channel ก็จะเหมือนมีถนน 1 เลน ที่รถวิ่งได้ทีละคันที่ความเร็ว 60 KM/Hr

แต่การทำ Dual Channel ก็จะเหมือนกับ ถนนมีเลนให้วิ่งเพิ่มขึ้นอีก รถทำความเร็วได้มากขึ้นกว่าเดิม และปริมาณรถที่วิ่งไปถึงจุดหมายปลายทางก็จะมากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน

 

 

ลองคำนวณดูว่า  ทำงานได้มาก-เร็วกว่า แค่ไหน เอาชัดๆเลย

เช่น

– แรม DDR3 ใส่ 1 ตัว = ใน 1 วินาที แรม DDR3 จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้มากถึง 8 x 1333 = 10664 หน่วย /1 วินาที

– แรม DDR3 ใส่ 2 ตัว ( ทำเป็นแรม Dual Channals ) = จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้มากถึง 2 x 8 x 1333 = 21328 หน่วย /1 วินาที

 

– แรม DDR2 ใส่ 1 ตัว = ใน 1 วินาที แรม DDR2 จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 4 x 800 = 3200 หน่วย /1 วินาที

– แรม DDR2 ใส่ 2 ตัว ( ทำเป็นแรม Dual Channals ) = จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 2 x 4 x 800 = 6400 หน่วย /1 วินาที

 

 

ทีนี้ ยุคเริ่มแรกของการนำ Dual Channel มาใช้กัน โดยผู้นำในเรื่องนี้ก็จะเป็น Intel นั่นเอง

ซึ่งอุปกรณ์สำคัญของการทำ Dual Channel นั้นก็คือ RAM นั่นเอง (ไม่บอกก็คงรู้กัน= =!)

ซึ่งข้อแม้ก็คือ ต้องใช้แรมเป็นคู่

งงมั้ยเอ่ย?

ก็คือ ต้องใช้แรม 2 แถว หรือ 4 แถว เป็นต้นนะครับ

โดยมีข้อแม้ก็คือ RAM ที่นำมาใช้นั้นต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีขนาดที่เท่ากัน(MB)

2. ความเร็วที่เท่ากัน(MHz)

3. Chipset ของ Mainboard หรือตัวเครื่องของโน๊ตบุ๊คนั้นต้องรองรับคุณสมบัตินี้

4. Chipset ของแรมนั้นต้องเหมือนกัน

 

ภายใต้ข้อจำกัดที่ยุ่งยากเหล่านี้ ทำให้เมื่อยุคแรกๆของการมี Dual Channel นั้นไม่ค่อยจะสวยงามเท่าไร

เพราะกว่าจะหาแรมที่มาคู่กันได้ (บางทียี่ห้อเดียวกันแท้ๆ ยังไม่สามารถทำได้เลย)

โดยก็มีบริษัท RAM บางบริษัทที่ทำขายในรูปแบบ Package ขายคู่ และรับรองว่าใช้Dual Channel ได้แน่นอน

ซึ่ง นั่นก็แพงกว่าซื้อแยกเป็นตัวๆ แน่ๆ

แต่ก็คุ้มครับสำหรับ Intel CPU เช่น Pentium4 และ Celeron ที่ทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มจากการที่ไม่มี Dual Channel ถึง 30%-40% เลย

 

เวลาก็เดินผ่านไปอย่างรวดเร็ว

ณ ปัจจุบัน Dual Channel ได้มีวิวัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

บริษัทที่ผลิต Chipset ต่างๆ ทั้งบน PC และ NoteBook ก็ได้ปรับปรุง Chipset ของตัวเอง ให้มีความยืดหยุ่นกับเทคโนโลยีตัวนี้มากขึ้น และพยายามลดข้อจำกัดต่างๆลง

ซึ่งในปัจจุบัน การทำ Dual Channel นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไปแล้วครับ

 

ใน PC เหลือเพียงข้อจำกัดแค่ MainBoard รองรับเทคโนโลยี กับแรมที่มีความเร็วเท่ากัน

ซึ่งในกรณีหลัง อาจจะมีปัญหาบ้าง เพราะหากใช้ความเร็วไม่เท่ากันแล้ว

ระบบจะปรับให้ RAM วิ่งเท่ากันโดยใช้ความเร็วของRAMตัวที่ช้าที่สุด เป็นตัวกำหนดครับ

เช่น มี 333 กับ 400 ระบบจะปรับให้วิ่งแค่ 333 ครับ

 

ซึ่งตรงนี้แรมบางตัวจะทนไม่ไหวทำให้ใช้งานไปนานๆ จะ Hang ได้นะครับ

 

ทีนี้ใน Notebook ผมขอแยกเป็น 2 แบบ โดยแบ่งตาม CPU นะครับ

คือ AMD และ Intel

ในส่วนของ AMD คงไม่มีอะไรมากครับ เขาไม่เน้น Dual Channel ซึ่ง มีหรือไม่มี Dual Channel ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไม่มากครับ

มี Dual Channel จะมีประสิทธิภาพโดยรวมมากกว่าไม่มี Dual Channel ไม่เกิน 20% ครับ

ทั้งในส่วนของ Sempron และ Turion64 และ Turion64X2 นะครับ

 

ในส่วนของ Intel จะมีมากมายหลายรุ่น

ขออธิบายกว้างๆ นะครับว่า อันดับแรก ถ้าหากเป็น Sonoma หรือ Core Duo จะรองรับ Dual Channel อยู่แล้วครับ โดยเฉพาะรุ่นที่เป็น Chipset Intel 9xx (xxคือตัวเลขนะครับ)

 

ตัวนี้ส่วนใหญ่เป็น DDR2 ครับ

ตัวนี้ค่อนข้างที่จะเรียกว่ายืดหยุ่นมากๆ

เพราะ ไม่จำเป็นต้องใช้ความจุเท่ากัน

และไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วเท่ากันด้วยครับ

 

เพราะ Chipset Intel9xx สามารถ จำลองหน่วยความจำ(นึกไม่ออกให้นึกถึง HyperThreading นะ)

จึงทำให้สามารถใช้ Dual Channelได้ ไม่ว่าRAM จะมีความจุที่เท่ากันหรือไม่

 

ต่อมาการทำ Dual Channel ใน Desktop PC ก็จะมีทั้งในรุ่นที่ต้องทำตามข้อแม้บางประการ ดูง่ายๆก็คือ ถ้า Chipset Intel 8xx จะทำได้ต้องภายใต้ข้อแม้ดังนี้

ความจุต้องเท่ากัน

ความเร็วต้องเท่ากัน

แถมบางรุ่นบางยี่ห้อ อาจจะต้องการ part เฉพาะอีกด้วยครับ

 

สรุปสุดท้าย

Dual Channel จะสำคัญเมื่อผู้ใช้นั้นใช้ โน๊ตบุ้คหรือ PC ของค่าย Intel ครับ

การที่มีหรือไม่มีนั้น ไม่ได้ทำให้เครื่องเสียหายหรือว่าอืดลงนะครับ

แต่การที่มีนั้นจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ มากกว่า 30% ครับ

 

ส่วนในเรื่องของ AMD

การจะทำ Dual Channel ก็ยังคงต้องการเครื่องหรือระบบที่รองรับเป็นหลักสำคัญ

รองลงมาเป็นชนิดของแรมว่าอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ครับ

 

 

Credit : http://www.memorytoday.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=606

 

Leave a comment